วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม


                                   ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม
 จรรยาบรรณ และธรรมาภิบาล
โดย ดร. จรวยพร ธรณินทร์      ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

                     ปฐมเหตุแห่งการนำเสนอบทความนี้มาจากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ) ที่ กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดให้มีการจัดระบบจูงใจ ให้คนทำดี ได้ดี มีรางวัลตอบแทน เป็นการพิจารณาให้ความดีความชอบของข้าราชการ ประจำปี ที่ทำงานด้านส่งเสริมคุณธรรมศีลธรรมของสถานศึกษา จึงต้องมีข้อตกลงเบื้องต้นว่างานคุณธรรม ศีลธรรมคืออะไร และจะเกี่ยวข้องกับบุคลากร 3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารโครงการ กลุ่มจัดการเรียนการสอน และกลุ่มจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
                   นอกจากนี้  คำว่า    คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม  จรรยาบรรณ  ธรรมาภิบาล    และสมรรถนะ มักมีผู้นำไปใช้ในความหมายที่แตกต่าง สับสน และไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริง ดังนั้นการทำความเข้าใจตั้งแต่ รากศัพท์ ความหมายและประโยชน์ในการนำไปใช้    จะช่วยให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันได้ดี                     
              เป้าหมายปลายทาง 
              คุณธรรม (Moral) ศีลธรรม (Moral)  จริยธรรม  (Ethics)และ จรรยาบรรณ (Code of Conduct)มีเป้าหมายใช้เพื่อการควบคุมตนเอง และส่งผลต่อ พฤติกรรมของบุคคลนั้น  ส่วนธรรมาภิบาล (Good Governance) และ ขีดสมรรถนะ (Competency) ใช้เพื่อเป็นกลไกควบคุม โครงสร้าง ระบบ และกระบวนการส่งผลต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือองค์กร
คุณธรรม  (Moral / Virtue)  
คุณธรรม  คือ  คุณ + ธรรมะ    คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและ
                      สังคม  ซึ่งรวมสรุปว่าคือ  สภาพคุณงาม ความดี
คุณธรรม (Virtue)   แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี
1. สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ
2.  คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น